- การขับรถผ่านทางร่วมทางแยก ท่านต้องปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจรหรือกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
- ผู้ขับขี่ที่ต้องการเลี้ยวรถต้องชะลอรถและเปิดไฟเลี้ยวก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร
- การหยุดรถบริเวณทางแยกผู้ขับขี่ต้องหยุดหลังเส้นแนวหยุด
- บริเวณที่ห้ามแซง ได้แก่ บริเวณทางโค้งรัศมีแคบ ส่วนบริเวณที่ผู้ขับขี่สามารถแซงได้ คือ บริเวณทางตรง ทางโล่ง ทางที่ปลอดภัย ทั้งนี้ ต้องใช้ความระมัดระวังขณะแซงด้วย
- การจอดรถต้องจอดให้ห่างจากขอบทางไม่เกิน 25 เซนติเมตร
- การขับรถแซงรถคันหน้าต้องแซงด้านขวามือ ยกเว้นกรณีที่เมื่อรถที่จะถูกแซงกำลังเลี้ยวขวา หรือให้สัญญาณว่าจะเลี้ยวขวา ผู้ขับขี่จึงสามารถแซงด้านซ้ายมือได้
- รถที่สามารถนำมาใช้ในทางได้ต้องเป็นรถที่จดทะเบียนและเสียภาษีแล้ว มีการติดแผ่นป้ายทะเบียนของทางราชการกำหนด และมีอุปกรณ์ส่วนควบครบถ้วน
- รถที่ห้ามนำมาใช้ในทาง เช่น รถที่ขาดต่อภาษี รถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนของทางราชการกำหนด รถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง และรถที่แจ้งเลิกใช้ตลอดไป เป็นต้น
- เขตปลอดภัย หมายถึง พื้นที่ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายแสดงไว้ให้เห็นได้ชัดเจนทุกเวลาสำหรับให้คนเดินเท้าที่ข้ามทางหยุดรอ หรือให้คนที่ขึ้นหรือลงจากรถหยุดรอก่อนจะข้ามทางต่อไป
- รถที่สามารถนำมาใช้ในทางเดินรถได้ต้องเป็นรถที่มีเสียงเครื่องยนต์ดังในระดับ 80 เดซิเบล ห้ามนำรถที่มีเสียงดังกว่าเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด รถที่มีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ หรือรถที่มีล้อไม่ใช่ยาง มาใช้ในทาง
- สัญญาณจราจรไฟสีแดงที่ทำเป็นรูปกากบาทเฉียงอยู่เหนือช่องเดินรถ หมายถึง ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถในช่องเดินรถนั้น
- เมื่อพนักงานจราจรยืนและเหยียดแขนซ้ายออกไปเสมอระดับไหล่ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาจากทางด้านหลังของพนักงานจราจรจะต้องหยุดรถ
- เมื่อพนักงานจราจรยืนและเหยียดแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาจากทางด้านไหนของพนักงานจราจรจะต้องหยุดรถ
- การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกที่มีสัญญาณจราจรไฟกระพริบสีแดง ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรจึงให้ขับรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง
- การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกที่มีสัญญาณจราจรไฟกระพริบสีเหลือง ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถลงและผ่านทางเดินรถนั้นไปด้วยความระมัดระวัง
- ผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้าย ยกเว้นกรณีที่ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง ผู้ขับขี่จึงจะสามารถเดินรถทางขวาหรือ ล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถได้
- การให้สัญญาณด้วยแขน โดยผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกตัวรถเสมอระดับไหล่และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง หมายถึงผู้ขับขี่นั้นต้องการจะลดความเร็วของรถ
- ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันหน้าในระยะที่จะสามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัยเมื่อมีความจำเป็น ไม่ได้กำหนดระยะห่างที่ชัดเจน เนื่องจากขึ้นอยู่กับสภาพความหนาแน่นของการจราจร และสมรรถนะของรถที่ขับ
- ผู้ขับขี่ต้องการจะเลี้ยวซ้ายต้องขับรถในช่องเดินรถด้านซ้ายก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร
- ผู้ขับขี่ต้องเปิดไฟหน้าหรือไฟท้ายรถ ให้รถคันอื่นเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร
- ในการขับรถสวนทางกัน ผู้ขับขี่ต้องให้ขับรถชิดด้านซ้าย
- ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นขณะที่มีหมอก ฝุ่น ฝน หรือควัน จนไม่อาจเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะ 60 เมตร
- บริเวณที่ห้ามขับรถแซงรถคันอื่น เช่น ทางโค้งรัศมีแคบ ทางร่วมทางแยก สะพานเดินรถทางเดียว ห้ามแซงรถในอุโมงค์
- บริเวณที่กฎหมายจราจรยอมให้ขับรถแซงรถคันอื่น เช่น ในกรณีที่ทางเดินรถด้านซ้ายมีสิ่งกีดขวาง หรือในระยะ 150 เมตร จากทางร่วมทางแยก หรือแซงด้านซ้ายในขณะที่มีรถรอเลี้ยวขวา หรือบนพื้นทางที่มีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้
- ในระยะ 150 เมตร จากทางราบของเชิงสะพาน ผู้ขับรถสามารถกลับรถได้โดยใช้ความระมัดระวังด้วย
- ส่วนบริเวณที่ห้ามกลับรถ ได้แก่ บริเวณทางเดินรถที่มีเครื่องหมายห้ามกลับรถ บริเวณบนสะพาน และบริเวณเขตปลอดภัย
- เมื่อผู้ขับขี่พบเครื่องหมาย "เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด" ผู้ขับขี่ควรหยุดรอให้คนข้ามถนนและรถที่มาจากทางด้านขวามือขับผ่านไปก่อนแล้วจึงเลี้ยวซ้ายผ่านไป
- ผู้ที่มีหน้าที่ให้สัญญาณจราจรตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ได้แก่ พนักงานจราจร และผู้ขับขี่ยานพาหนะ ส่วนคนเดินเท้าไม่มีหน้าที่ให้สัญญาณจราจร
- ผู้ขับรถต้องไม่จอดรถบริเวณทางร่วมทางแยก แต่เมื่อถึงบริเวณวงเวียนต้องลดความเร็ว หรือเมื่อเห็นคนกำลังข้ามถนน ตลอดจนลดความเร็วเมื่อถึงที่คับขัน
- เมื่อจะเปลี่ยนช่องทางหรือแซงรถทุกครั้ง ผู้ขับรถต้องให้สัญญาณไฟหรือสัญญาณแตร ต้องไม่รีบเปลี่ยนช่องทางโดยเร็ว หรือแซงขึ้นหน้าแล้วเหยียบเบรกทันที หรือรีบเร่งเครื่องแซงโดยเร็ว
- รถ ได้แก่ บริเวณที่มีป้ายห้ามหยุดรถ ในอุโมงค์ บริเวณทางร่วมทางแยก
- ข้อปฏิบัติในการขับรถที่ถูกต้อง คือ ผู้ขับรถต้องขับรถเร็วไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
- ห้ามขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร หรือขับรถลักษณะผิดปกติวิสัย
- เมื่อถึงทางรถไฟและมีรถไฟกำลังแล่นผ่าน ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่า 5 เมตร อย่าขับรถผ่านไปโดยเร็ว หรือให้เสียงสัญญาณแตรเตือนและขับผ่านไป และไม่จำเป็นต้องเปิดไฟฉุกเฉิน
- บริเวณที่ผู้ขับรถไม่ควรใช้สัญญาณเสียงแตร ได้แก่ โรงเรียน สถานที่ราชการ โรงพยาบาล
- ส่วนบริเวณที่ผู้ขับรถสามารถใช้สัญญาณเสียงแตรได้ ได้แก่ สวนสาธารณะ
- เมื่อเกิดอุบัติเหตุผู้ขับขี่หลบหนีจะมีผลให้สันนิษฐานว่าผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิด
- ผู้ขับรถยังสามารถใช้สัญญาณเสียงแตรได้เมื่อจำเป็นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ แต่ไม่ควรใช้เมื่อเห็นรถคันข้างหน้าขับช้า
- ขณะขับขี่รถต้องเว้นระยะห่างรถคันหน้าในระยะที่ปลอดภัย
- ก่อนเลี้ยวรถต้องเข้าช่องทางที่จะเลี้ยวและเปิดไฟเลี้ยวก่อนเลี้ยวรถในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร เพื่อให้ผู้ที่ขับตามหลังมาทราบ
- ผู้ขับรถที่ดื่มสุรา เมื่อวัดระดับแอลกอฮอล์ในลมหายใจจะต้องไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น ส่วนผู้ขับรถยนต์สาธารณะ ผู้ขับรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุก ขณะขับรถต้องมีระดับแอลกอฮอล์ในลมหายใจเท่ากับศูนย์เท่านั้น
- ขณะขับรถตรวจพบแอลกอฮอล์ในร่างกายเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับตั้งแต่ 5,000 ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ในเขตกรุงเทพ เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ผู้ขับรถตามกฎหมายรถยนต์ต้องขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- นอกเขตกรุงเทพ เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ผู้ขับรถตามกฎหมายรถยนต์ต้องขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- ในการให้สัญญาณไฟเลี้ยว จะต้องให้ผู้ขับรถคันอื่นเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร
- การให้สัญญาณมือ ผู้ขับขี่ซึ่งจะเลี้ยวรถจะต้องให้สัญญาณมือด้วยมือขวาเท่านั้น
- บริเวณทางร่วมทางแยกและมีเครื่องหมายห้ามกลับรถแต่เจ้าพนักงานจราจรอนุญาตให้กลับรถได้ผู้ขับขี่ก็สามารถกลับรถได้ เนื่องจากผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณของเจ้าพนักงาน
- ผู้ขับขี่ที่ต้องการกลับรถต้องสังเกตป้ายจราจรที่อนุญาตให้กลับรถและเข้าช่องทางให้ถูกต้อง ห้ามกลับรถขณะเข้าช่องทางที่มีลุกศรบนพื้นถนนให้ตรงไป หรือกลับรถที่บริเวณเส้นทะแยงเหลือง
- การปฏิบัติที่ถูกต้องขอรถจักรยานยนต์ คือ รถจักรยานยนต์ต้องขับในช่องเดินรถด้านซ้ายสุด
- ในช่องทางเดินรถตั้งแต่สองช่องทางขึ้นไปในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ต้องขับรถชิดด้านซ้ายสุด
- ผู้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องสวมหมวกนิรภัยขณะโดยสารรถจักรยานยนต์ คือ ภิกษุ สามเณร
- ข้อปฏิบัติที่ถูกต้องในการใช้ไฟฉุกเฉิน คือ ใช้ไฟฉุกเฉินเมื่อรถเสียหรือเกิดอุบัติเหตุ
- ในการบรรทุกสิ่งของ ผู้ขับขี่ต้องบรรทุกยื่นพ้นตัวรถด้านหลังไม่เกิน 2.50 เมตร
- การลากจูงรถที่ไม่สามารถใช้พวงมาลัยหรือเบรกได้ ควรใช้วิธีการยกหน้าหรือยกท้ายลากไป
- รถที่มีความเร็วช้า ผู้ขับขี่จะต้องขับรถชิดขอบด้านซ้าย