สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com


11 หมวด การรับรู้สถานการณ์อันตราย-เทคนิคการขับรถเกียร์ออโต้



ครูอ๊อตสอนขับรถยนต์มา21ปีแล้วร้านเราบริหารกันเองไม่ได้จ้าง 
ครูสอนสอนโดยครูอ๊อตและครูอ้อน‎: 
เราเอาใจใส่ และ บริการ ลูกค้าทุกคนอย่างดีเยี่ยม 
เราถึงมีลูกค้าโฆษณากันปากต่อปากในบริการเรา 
เรียนจบพาไปสอบใบอนุญาตใบขับขี่รถยนต์ 
โทร. 02411-3871 , 089-484-3297 
สอนโคย.. ครูอ๊อต และ ครูอ้อน เจ้าของสอนเอง ขอขอบคณุหวังว่าคงได้รับความไว้วางใจจาท่าน

                     


                                                                

11.ข้อสอบใบขับขี่จริงหมวด การรับรู้สถานการณ์อันตราย ข้อสอบหมวดนี้มีทั้งหมด 22 ข้อ


11.1.รถยนต์ ก. และรถยนต์ ข. วิ่งมาถึงทางแยกพร้อมกัน และเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวกัน ดังรูป


ก. รถยนต์ ก. เป็นฝ่ายผิดเนื่องจากบริเวณทางแยกลักษณะนี้ ต้องให้รถที่อยู่ด้านขวาไปก่อน
ข. รถยนต์ ข. เป็นฝ่ายผิด
ค. ทั้งรถยนต์ ก. และรถยนต์ ข. ผิดด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย
ง. ไม่มีรถยนต์ฝ่ายใดผิด




11.2 รถ ก. , ข. และ ค. เลี้ยวซ้ายพร้อมกัน คันใดกระทำผิดกฎหมาย 



ก. รถคัน ก. และ ข. ผิด เพราะเลี้ยวซ้ายพร้อมกัน
ข. รถคัน ก. และ ค. ผิด เพราะเลี้ยวซ้ายพร้อมกัน
ค. รถคัน ข. และ ค. ผิด เพราะเลี้ยวซ้ายพร้อมกัน
ง. รถคัน ก., ข. และ ค. ผิด เพราะเลี้ยวซ้ายพร้อมกัน


11.3 จากรูป สมมติว่าท่านเป็นผู้ขับรถคัน ก. และมีความประสงค์จะขับเข้าซอยซ้ายมือด้านหน้า
รถโดยสารประจำทางที่กำลังจอดรับส่งผู้โดยสารที่ป้ายรถเมล์ ท่านต้องขับรถอย่างไรจึงจะปลอดภัย




ก. หยุดรถหลังรถโดยสารประจำทาง รถให้รถโดยสารประจำทางขับออกไปก่อนแล้วค่อยขับเลี้ยวเข้าซอย
ข. ขับแซงด้านซ้ายรถโดยสารประจำทางแล้วค่อยเลี้ยวซ้ายเข้าซอย
ค. ขับแซงด้านขวารถโดยสารประจำทางแล้วค่อยเลี้ยวซ้ายเข้าซอย
ง. ถูกทั้งข้อ ก, ข. และ ค.

11.4 สมมติว่าท่านขับรถคัน ก. ออกจากห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีป้ายรถเมล์อยู่หน้าห้างดังรูป ท่านจะต้อง
ขับรถอย่างไรจึงจะปลอดภัย 






ก. หยุดรถบริเวณทางออกดูรถด้านขวามือ ถ้าไม่มีรถวิ่งมาก็ขับรถเลี้ยวขวาแซงรถประจำทางออกไป
ข. หยุดรถบริเวณทางออก ดูรถด้านขวามือ ถ้าไม่มีรถวิ่งมาก็ดูรถด้านซ้ายมือว่ามีรถมาจอดต่อท้ายรถโดยสารประจำทางหรือไม่ ถ้าด้านซ้ายมือไม่มีรถก็ขับรถออกไป
ค. ไม่ต้องหยุดรอ ขับเลี้ยวซ้ายออกมาต่อท้ายรถโดยสารประจำทาง
ง. ถูกทุกข้อ

11.5จากรูปเป็นการชนประสานงากันระหว่างรถคัน ก และ รถคัน ข ถามว่ารถ ก. หรือ รถ ข. เป็นฝ่ายผิด เพราะอะไร 





ก. รถ ก. ผิด เพราะแซงซ้ายบนทางโค้งส่วนรถ ข. ถูก เพราะช่องที่ขับมาเป็นไหล่ทางไม่ใช่
ข. รถ ก. ผิด เพราะขับรถย้อนศร ส่วนรถ ก. ถูกเพราะเป็นไหล่ทางช่องรถวิ่งสามารถขับได้
ค. รถ ก. เป็นฝ่ายถูก เพราะขับรถชิดขอบทางด้านซ้าย ส่วนรถ ข. เป็นฝ่ายผิด เพราะขับรถชิดขอบทางด้านขวา
ง. รถ ก. ผิด เพราะแซงด้านซ้าย ส่วนรถ ข. ผิดเพราะขับรถย้อนศร


11.6 สมมติท่านขับรถคัน ก. ในระหว่างที่ขับรถอยู่นั้นรถในช่องทางด้านขวามือของท่านตั้งแต่รถคัน ข. ลงมา อยู่ ๆ ก็หยุดรถท่านเห็นรถในช่องขวามือของท่านหยุด ท่านจะทำอย่างไร 




ก. ขับรถต่อไป เพราะช่องเดินรถของท่านโล่งสามารถขับรถต่อไปได้
ข. เร่งเครื่องยนต์รีบขับขึ้นหน้ารถด้านขวามือ
ค. ชะลอความเร็ว เนื่องจากไม่แน่ใจว่ารถด้านขวาหยุดให้ผู้โดยสารลงรถหรือไม่
ง. หยุดรถ เพราะคาดว่าทางข้างหน้าอาจจะมีคนข้ามถนน

11.7 ท่านขับรถตามหลังรถโดยสารประจำทาง เมื่อถึงป้ายรถเมล์ รถโดยสารประจำทางจอดให้ผู้โดยสาร
ขึ้นและลงรถ เมื่อท่านเห็นรถโดยสารประจำทางหยุด ท่านจะทำอย่างไร




ก. ขับแซงด้านขวาขึ้นหน้ารถโดยสารประจำทาง
ข. หยุดรถหลังรถโดยสารประจำทาง เพราะอาจจะมีคนโดยสารรถโดยสารประจำทางเดินตัดหน้ารถโดยสารประจำทาง
ค. ดูว่ามีรถด้านขวาหรือไม่ ถ้าไม่มีรถก็แซงด้านขวา
ง. ชะลอความเร็ว เตรียมแซงรถโดยสารประจำทางด้านซ้ายหรือด้านขวา

11.8 เมื่อท่านขับรถยนต์ไปในทางโค้งด้านขวา รถเสียหลักหลุดโค้งออกไปด้านซ้ายลงข้างทางไปชนเสาไฟฟ้า ถามว่าท่านกระทำผิดกฎหมายจราจรทางบกหรือไม่

ก. ไม่มีความผิด เพราะไม่มีคู่กรณี
ข. ไม่มีความผิด เพราะท่านทำให้เกิดอุบัติเหตุเอง
ค. มีความผิด เนื่องจากไม่ชะลอความเร็วของรถเมื่อขับรถในทางโค้ง
ง. มีความผิด เพราะขับรถไปชนเสาไฟฟ้า

11.9 เมื่อท่านขับรถที่มุ่งหน้าเข้าหาหน้าผาของภูเขาสูงแสดงว่า 




ก. ถนนที่ท่านกำลังขับรถอยู่นั้นตัดผ่านภูเขา
ข. ถนนที่ท่านกำลังขับรถอยู่นั้นจะต้องเป็นทางโค้งขวาหรือโค้งซ้าย
ค. ถนนที่ท่านกำลังขับรถอยู่นั้นอาจเป็นทางตันไม่สามารถขับผ่านไปได้
ง. ถูกทั้งข้อ ก, ข. และ ค.

11.10 ท่านเห็นรถ ก. ชนกับรถ ข. อย่างแรงจนรถทั้ง 2 คันพังยับเยินผู้ขับรถทั้ง 2 คนเสียชีวิตในที่เกิดเหตุตรงบริเวณสามแยก โดยเห็นว่ารถ ข. วิ่งออกจากซอย ชนกับรถ ก. ที่วิ่งมาบนถนนสายหลัก ดังรูปถามว่ารถคันใดทำผิดกฎหมาย เพราะอะไร 



ก. ผู้ขับรถ ก. ผิด เพราะไม่ลดความเร็วเมื่อขับรถผ่านทางร่วมทางแยก
ข. ผู้ขับรถ ข. ผิด เพราะไม่ให้รถที่มีสิทธิ์ผ่านไปก่อน
ค. ทั้งผู้ขับรถ ก. และผู้ขับรถ ข. ผิดด้วยกันทั้งคู่ ด้วยเหตุผลตามข้อ ก. และ ข.
ง. ผิดทั้งคู่ เพราะผู้ขับรถ ก. ไม่ลดความเร็วเมื่อขับรถผ่านทางร่วมทางแยก และผู้ขับรถ ข. ไม่ให้รถที่มีสิทธิ์ผ่านไปก่อน


11.12 เมื่อท่านจะขับรถออกจากปากซอย ดังรูป เหตุการณ์ใดต่อไปนี้ที่ท่านเป็นฝ่ายถูก




ก. ท่านเลี้ยวซ้ายทันที
ข. ท่านเลี้ยวขวาทันที
ค. ท่านขับตามช่องทางเดินรถไป 1 ช่องแล้วเลี้ยวขวา
ง. ท่านขับรถถึงปากซอยแล้วหยุดทันที


11.13 ท่านขับรถคัน ก. เมื่อท่านขับรถถึงบริเวณสี่แยกที่ไม่มีไฟสัญญาณจราจร (ดังภาพ) กรณีใดที่ท่านไม่ใช่เป็นฝ่ายผู้กระทำผิด



ก. เลี้ยวซ้ายทันที
ข. เลี้ยวขวาทันที
ค. ขับตรงไปทันที
ง. หยุดทันทีเมื่อถึงทางแยก

11.14 ในขณะที่ท่านกำลังขับรถเลี้ยวขวา ดังรูป ท่านเห็นว่าเบรกไม่ทันรถของท่านจะชนรถคันหน้าจะหักพวงมาลัยรถไถลลงข้างทางไปชนต้นไม้ ถามว่าการกระทำของท่านทำผิดกฎหมายจราจรทางบกหรือไม่


ก. ไม่ผิด เพราะไม่ได้ชนรถที่อยู่ข้างหน้า
ข. ผิด เพราะไม่ได้ขับในช่องทางเดินรถแต่ไปชนต้นไม้
ค. ผิด เพราะไม่ลดความเร็วของรถเมื่อขับผ่านทางร่วมทางแยก
ง. ไม่ผิด เพราะไม่มีผู้เสียหาย


11.15 ข้อใดที่แสดงว่า ท่านขับรถไม่เป็น

ก. ขณะที่กำลังขับรถอยู่ มีสุนัขวิ่งตัดหน้ารถ ท่านหักหลบสุนัขลงข้างทาง
ข. ขณะที่กำลังขับรถอยู่ ถูกรถที่ตามหลังมาชนท้ายอย่างแรงจนรถของท่านไปกระแทกรถคันข้างหน้า
ค. ขณะที่กำลังเลี้ยวซ้ายเข้าที่จอดรถ มีรถขับตัดหน้าแย่งเข้าจอดรถ ท่านจึงเหยียบเบรกอย่างแรงแต่รถก็ยังชนรถที่ตัดหน้า
ง. ขับรถไปซื้อของที่หน้าปากซอยท่านก็คาดเข็มขัดนิรภัย

11.16 ท่านขับรถคัน ก. เหตุการณ์ต่อไปนี้ ท่านเป็นฝ่ายกระทำผิดเพราะอะไร 




ก. แซงอย่างผิดกฎหมาย
ข. ขับล้ำเข้าไปในช่องทางรถสวน
ค. ไม่ลดความเร็วของรถเมื่อขับผ่านทางโค้ง
ง. ขับรถย้อนศร

11.17 ท่านขับรถคัน ข. จากรูปรถของท่านถูกรถของนาย ก. คัน ก. ชนบริเวณสี่แยกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร 



ก. ท่านผิด เพราะไม่ลดความเร็วในรถขณะขับผ่านทางร่วมทางแยก
ข. นาย ก. เป็นฝ่ายผิด เพราะกลับรถในบริเวณทางร่วมทางแยก
ค. ท่านเป็นฝ่ายผิด เนื่องจากประมาท
ง. ทั้งท่านและนาย ก. ผิด เพราะขับรถโดยประมาท


11.18 รถของท่าน (คัน ข.) ชนกับรถของนาย คัน ก. ตรงบริเวณที่ท่านกำลังเลี้ยวขวาเข้าซอย ดังรูป 



ก. ท่านเป็นฝ่ายผิด เพราะขับล้ำเข้าในช่องทางรถสวน
ข. ฝ่ายนาย ก. เป็นฝ่ายผิด เพราะไม่ยอมให้รถเลี้ยวเข้าซอยไปก่อน
ค. ท่านเป็นฝ่ายผิด เพราะไม่ได้ให้สัญญาณเลี้ยวขวา
ง. ฝ่ายนาย ก. เป็นฝ่ายผิด เพราะไม่ลดความเร็วของรถขณะขับผ่านทางร่วมทางแยก

11.19 สมมติว่าในขณะที่ท่านรอข้ามถนนได้เห็นเหตุการณ์รถตู้ส่งของมีคนนั่ง 2 คนถูกรถเก๋งชนท้ายด้านขวา ทำให้รถตู้หมุน 3 รอบ คนขับรถตู้กระเด็นออกจากตัวรถ ศีรษะฟาดพื้นถนนเสียชิวิตถามว่า เพราะเหตุใดคนขับรถตู้จึงกระเด็นออกจากตัวรถ

ก. รถตู้ถูกชนอย่างแรงจนหมุนเหวี่ยงคนขับให้กระเด็นออกจากตัวรถ
ข. รถเก๋งชนท้ายรถตู้ในมุมเฉียง ๆ ด้านขวา จึงทำให้รถตู้หมุนอย่างแรง
ค. คนขับรถเก๋งคาดเข็มขัดนิรภัย ส่วนคนขับรถตู้ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย
ง. คนขับรถเก๋งขับรถด้วยความเร็วสูง ส่วนรถตู้ขับช้า ๆ จึงถูกชนอย่างแรง

11.20 สมมติว่า นาย ก. มีโปรแกรมขับรถตู้พาครอบครัวจากกรุงเทพฯไปท่องเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยออกเดินทางในเวลา 02.00 น. คาดว่าจะไปถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอนในเวลาประมาณ 20.00 น.เมื่อขับรถติดต่อกันเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ปรากฏว่ารถเสียหลักแฉลบลงข้างทางชนต้นไม้ เป็นเหตุครอบครัวของนาย ก.ได้รับบาดเจ็บหลายคน ท่านพอจะสันนิษฐานได้หรือไม่ว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากสาเหตุใด

ก. นาย ก. หลับในขณะขับรถ
ข. นาย ก. และคนในครอบครัวของนาย ก. หลับใน
ค. นาย ก. ไม่ชำนาญเส้นทาง
ง. ข้อ ก. และ ข้อ ค. ถูก

11.21 ข้อใดเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงที่สุดที่เกิดขึ้นกับรถที่ขับช่องขวาสุด

ก. ถูกรถในช่องทางขับข้ามเกาะกลางมาชนประสานงา
ข. ขับชนท้ายรถคันที่ขับอยู่ข้างหน้า
ค. ขับชนท้ายรถที่กำลังเลี้ยวกลับรถ
ง. หลบรถที่ขับตัดหน้าลงข้างทาง


11.22 เมื่อท่านจะขับรถผ่านบริเวณที่เป็นสี่แยกเล็ก ๆ ดังรูป ท่านคาดการณ์ว่าจะมีเหตุการณ์ใดบ้างที่เกิดขึ้นกับท่าน 



ก. น่าจะมีรถพุ่งออกจากซอยซ้ายมือมาตัดหน้าท่าน
ข. น่าจะมีรถพุ่งออกจากซอยขวามือเลี้ยวขวาตัดหน้าท่าน
ค. น่าจะมีรถสวนฝั่งตรงข้ามท่านเลี้ยวขวาตัดหน้าท่าน
ง. เป็นไปได้ทุกข้อ
 

เทคนิคการขับรถเกียร์ออโต้+เกียร์ออโต้ ขับอย่างไรให้ทนทาน


เทคนิคการขับรถเกียร์ออโต้

ทุกวันนี้รถยนต์โดยทั่วไปบนท้องถนน มักเป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยเกียร์ออโต้ เพราะให้ความสะดวกสบายในการขับขี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพการจราจรที่ติดขัดในกรุงเทพฯ ซึ่งจะต้องขับเคลื่อน และชะลอตัว หรือเบรคอยู่บ่อยครั้ง
ในการขับขี่รถยนต์เกียร์ออโต้นั้น ผู้ขับขี่ควรจดจำตำแหน่ง และใช้เกียร์แต่ละเกียร์ได้ อย่างถูกต้อง แม่นยำ ซึ่งเกียร์ออโต้แต่ละตำแหน่ง มีดังนี้
P หมายถึง PARKING เป็นตำแหน่งที่ใช้สำหรับจอดรถ และไม่ต้องการให้รถเคลื่อน โดยล้อรถจะถูกล็อคไว้ ไม่สามารถเข็นได้ เช่น ในการจอดบนทางลาดชัน เมื่อต้องการจอดรถทิ้งไว้ หลังจากเหยียบเบรคจนรถหยุดสนิทแล้ว อย่าเพิ่งปล่อยเบรค จับคันเกียร์กดปุ่มปลดล็อค แล้วโยกคันเกียร์ไปที่ตำแหน่งP จากนั้นปล่อยเบรค แล้วดับเครื่องยนต์
R หมายถึง REVERSE เป็นเกียร์สำหรับการถอยหลัง เมื่อต้องการเข้าเกียร์ R จะต้องเหยียบเบรค ให้รถหยุดสนิท จากนั้นจับคันเกียร์กดปุ่มปลดล็อคแล้วโยกคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง R แล้วจึงปล่อยเบรค กดคันเร่ง ให้รถเคลื่อนตัวถอยหลัง
N หมายถึง NEUTRAL เป็นตำแหน่งเกียร์ว่างใช้เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์หรือต้องการจอดรถทิ้งไว้โดยที่ยังสามารถเข็นได้ หรือเมื่อจอดรถ อยู่กับที่ ในขณะเครื่องยนต์ยังคงทำงานอยู่ เช่น การจอดรถในสภาพการจราจรติดขัด หรือเมื่อติดไฟแดง
D4 หมายถึง เกียร์ออโต้ 4 สปีด ใช้ในการขับรถเดินหน้าในสภาพการขับขี่ทั่วไป เช่น การขับรถ ในตัวเมือง รวมทั้งการขับรถด้วยความเร็วสูง ซึ่งการทำงานของเกียร์ D4 จะเป็นไปในลักษณะ 4 สปีด คือ เกียร์ จะเปลี่ยน ขึ้นตามลำดับ จากเกียร์ 1 ไปเกียร์ 2 หรือจากเกียร์ 2 ไปเกียร์ 3 หรือจากเกียร์ 3ไปเกียร์ 4 โดยออโต้ ตามสภาพการทำงานของเครื่องยนต์และความเร็วของรถ ยิ่งผู้ขับเหยียบคันเร่งมาก เกียร์ก็จะเปลี่ยนที่ความสูงขึ้น ตามไปด้วย
ในทางกลับกัน เมื่อลดความเร็ว เกียร์จะเปลี่ยนจากเกียร์ 4 ไปเกียร์ 3 หรือจากเกียร์ 3 ไปเกียร์ 2 หรือจากเกียร์ 2
ไปเกียร์ 1
D3 หมายถึง เกียร์ออโต้ 3 สปีด ใช้สำหรับขับรถขึ้นหรือลงเนิน เพื่อป้องกันมิให้เกียร์เปลี่ยนกลับไป กลับมาบ่อยๆ ระหว่างเกียร์ 3 และเกียร์ 4นอกจากนี้ยังใช้สำหรับกรณีที่ต้องการ ให้เครื่องยนต์ช่วยเพิ่มกำลัง เบรคมากขึ้น
ในตำแหน่ง D4 และ D3 หากต้องการเร่งความเร็วอย่างทันทีทันใด เช่น ในเวลาที่ต้องเร่งแซงรถที่อยู่ข้างหน้า ผู้ขับขี่ สามารถใช้การ KICK DOWNเหยียบคันเร่งจมติดพื้น เกียร์จะเปลี่ยนโดยออโต้ และทำให้รถพุ่ง ไปข้างหน้าเร็วขึ้น
D2 หมายถึง เกียร์ 2 ใช้สำหรับการขับรถลงเขาเพื่อให้เครื่องยนต์ช่วยเพิ่มกำลังเบรคมากขึ้น หรือการขับรถขึ้นเขา เพื่อเพิ่มกำลังขับเคลื่อน รวมทั้งการขับบนถนนลื่น และการขับขึ้นจากหล่มโคลนหรือทราย
D1 หมายถึง เกียร์ 1 ใช้สำหรับการขับรถขึ้น-ลงเขาที่สูงชันมากๆ
การเลือกใช้งานของเกียร์ออโต้แต่ละเกียร์ได้อย่างถูกต้อง นอกจากจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย หรือ ความเสียหาย ต่อระบบขับเคลื่อนแล้ว ยังให้การขับขี่ที่นุ่มนวลอีกด้วย


กดลิงก์..โรงเรียนสอนขับรถยนต์ครูอ๊อด facebook

ยินดีต้อนรับสู่การเรียนขับรถยนต์,สอนขับรถยนต์,โรงเรียนสอนขับรถยนต์,สอนขับรถ

12 สิงหาคม 2011

                                       

        ****โทรนัดเวลาเรียนกับครูอ้อน.089-4843297***
  
เกียร์ออโต้ ขับอย่างไรให้ทนทาน

แม้เกียร์อัตโนมัติจะมีคุณสมบัติต่างๆที่ดีขึ้น แต่แง่หนึ่งที่หลายคนไม่เคยปฏิเสธได้คือ มันมีความทนทานน้อยกว่าระบบเกียร์ธรรมดา ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากอายุการใช้งาน แต่ในอีกด้านการไม่เข้าใจ และขับขี่ไม่ถูกต้อง ก็เป็นต้นตอสำคัญที่ทำให้ระบบเกียร์เสียชีวิตก่อนวัยอันควร และนั่นหมายถึง คุณมีสิทธิ์ที่จะเจอค่าซ่อมมากโขอยู่เช่นกัน  แต่ทั้งหมด สามารถหลีกเลี่ยงได้ ถ้าคุณรู้จักวิธีการที่ทำให้มันทนทาน

               1.จำไว้เสมอเบรกก่อนเปลี่ยน หลายคนมักไม่ทราบว่าเกียร์อัตโนมัติควรจะทำการเหยียบเบรกก่อนเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ โดยเฉพาะ จากตำแหน่งหยุดนิ่งสู่ตำแหน่งขับเคลื่อน ซึ่งการเหยียบเบรกนั้นจะช่วยให้ ระบบส่งกำลังไม่เกิดการกระชาก และการไม่กระชากก็หมายความถึงการที่ระบบเกียร์ทำงานอย่างลื่นไหล ซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวโยงกันโดยตรงต่อการการสึกหรอของระบบเกียร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบเกียร์ใหม่ๆ อย่าง CVT  ซึ่งมีความเปราะบางทางด้านกลไกพอสมควร
                
               2.ขับสมูท ลดกระชาก ทุกวันนี้คนจำนวนมากเข้าใจผิดเกี่ยวกับระบบเกียร์อัตโนมัติ สูงมาก โดยเฉพาะ การใช้วิธีคิกดาวน์ แทบทุกครั้งที่ต้องการเร่งแซงหรือเมื่อต้องการกำลัง การคิกดาวน์ อาจจะเป็นโปรแกรมหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการลดตำแหน่งเพื่อให้ได้อัตราเร่งที่ตอบสนองได้เร็วขึ้น ซึ่งอาจจะไม่ได้หมายถึงการสึกหรอโดยตรง แต่เมื่อคุณใช้มันบ่อย และการทำให้เกียร์มีรอบขับเคลื่อนสูง  อยู่ตลอดเวลาก็จะมีความร้อนสะสมในน้ำมันเกียร์ ซึ่งทำให้น้ำมันเสื่อมสภาพเร็ว และหมายถึง เกียร์จะเสื่อมสภาพตามนั่นเอง
                
              3.มองตำแหน่งอื่นๆ ทุกวันนี้ระบบเกียร์ไม่ได้มีแค่  P R N D เท่านั้น แต่บางครั้ง ยังมีออพชั่นต่างๆมาให้ ซึ่งออพชั่นต่างๆที่ออกมาสนองความต้องการนี้ ส่วนหนึ่งก็เพื่อยืดอายุการใช้งานด้วย ลองหัดใช้พวกมันดูบ้าง  เช่น  S  อาจจะเป็นโหมดสปอร์ต แต่สามารถประยุกเพื่อใช้ขับทางชันโดย ที่รอบเครื่องยนต์ไม่สูงเกินไปนัก

               4. เหยียบเบรก ค้าง D  เสียมากกว่าดี ทุกวันนี้คนขับรถเกียร์อัตโนมัติ ส่วนใหญ่มองว่าการขับขี่เกียร์อัตโนมัติขับๆเบรกๆ ง่ายๆ สบายนี้ ทำให้หลายคนติดกับการใช้เบรก แม้รถจะติดต่อเนื่องเป็นเวลานาน ก็จะคงตำแหน่งที่เกียร์ D  ไว้แล้วเหยียบเบรกเอาไว้เพื่อ พร้อมใช้งานเมื่อรถเคลื่อนตัว
                ความจริงแล้วการทำดังกล่าวไม่ผิด แต่จะมีผลเสียในระยะยาวมากกว่า ต่อชิ้นส่วน โดยเฉพาะ ชุด torque Converter  ซึ่งทำหน้าที่รับกำลังจากเครื่องยนต์โดยตรง โดยด้านหนึ่งติดกับเครื่องยนต์ อีกด้านติดกับชุดเกียร์ ซึ่งการที่เราเบรก คือการที่เราหยุดรถไม่ให้เคลื่อนไปข้างหน้า แต่ในชุดเกียร์นั้นยังคงทำงาน และ จะมีแรงสะสมมาก ด้วยแรงดันน้ำมันที่หมุนวนตลอดเวลา  ซึ่งหมายถึงความร้อนที่มากขึ้นด้วย ดังนั้นทางที่ดี ควรจะปลดกับมาสู่เกียร์ N เพื่อลดภาระนั้น โดยเฉพาะเมื่อรถติด(การจราจร) นานกว่า 2 นาทีขึ้นไป

                5.ถอยหลังแล้วเดินหน้า อย่าทำ ทุกวันนี้อารมณ์สปอร์ต มักเข้าสิงห์หลายๆคน โดยเฉพาะการขับขี่ถอยหลัง ที่บางครั้งการเร่งรีบทำให้เราลืมหยุดสนิทแล้วปลดเกียร์เพื่อเดินหน้า แต่ใช้วิธีลัดโดยถอยหลังแล้วเดินหน้าเลยทันทีการทำเช่นนั้น ไม่เคยมีผลดีต่อระบบเกียร์เลย เพราะ แรงที่หมุนสวนทางกันอย่างรุนแรง จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อชุดเฟือง สายพาน และ ลูกปืนต่างๆ และทำให้มีอายุสั้นลง ดังนั้น สิ่งที่สำคัญคือการทำอะไรตามขั้นตอนอย่าลัด เพราะ มันอาจจะสร้างความเสียหายได้มากกว่าที่คุณคิดเสียอีก

   

กฎหมาย ตำรวจจราจรกับการยึดใบขับขี่

โพสต์13 ต.ค. 2552 00:58โดยสิทธิพงษ์ สุขจิตต์   [ อัปเดต 6 ส.ค. 2557 07:39 ]

ทางครูอ๊อดสอนขับรถยนต์ ไม่มีสาขาอื่นใด  
มีสำนักงานอยู่ทีใต้สะพานอรุณอมรินทร์ใกล้กับโรงพยาบาลศิิริราช
1095/2 อรุณอมรินทร์ แขงศิริราช บางกอกน้อย ธนบุรี บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700

   
                                                   รูปนักเรียนของเรา
     

        ****โทรนัดเวลาเรียนกับครูอ้อน.089-4843297****
       
                           สอนโดย ครูอ๊อตและครูอ้อน เจ้าของสอนเอง ได้เปิดสอนมาเป็นเวลานานกว่า 21 ปี
               
                            วันละ 2 ชม.  จันทร์, อังคาร, พุธ, พฤหัสบดี  ปิดสอนเวลา  9.00 น-21.00 น 
                       
                     เรียนวันเสาร์-อาทิตย์เปิดสอนเวลา  7.00 น- 21.00 น       โทร.024113871--0894843297

                                 

กฏหมาย ตำรวจจราจรกับการยึดใบขับขี่

หลายคนในที่นี่คงเคยประสบกับปัญหาการนี่เองกับตัว หรือได้ยินได้ฟังมาจาการบอกเล่าของเพื่อน พี่น้อง กันบ้างแล้ว ที่นี่เรามาดูกันว่าตำรวจสามารถยึดใบขับขี่ได้หรือไม่

1) อำนาจจราจร — การขับรถตามท้องถนน แล้วเจอด่านตำรวจ หรือ มีตำรวจเรียกให้หยุด ก็เป็นหน้าที่ของเราผู้ขับต้องหยุดรถ และ อำนวจความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบ
หากมีคำสั่งให้หยุดรถแล้วไม่ปฎิบัติตาม โดยไม่มีเหตุผล หรือ ข้อแก้ตัวที่เหมาะสม ก็อาจโดนโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากถึงขั้นพุ่งชนสิ่งกีดขวางแล้วหลบหนี ก็มักผิดกว่ากฎหมายจราจรธรรมดา เพราะถือเป็นการต่อสู้กับเจ้าพนักงาน อาจโดนโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ตำรวจไม่มีอำนาจยึดกุญแจหรือบัตรอื่นๆได้

2) การยึดบัตรต่างๆของเจ้าหน้าที่ตำรวจ -มีข้อถกเถียงกันมานาน แล้วว่าเมื่อตำรวจจับกุมผู้กระทำความผิด เช่นขับขี่จักรยานยนต์โดยไม่สวมหมวกกันน็อคหรือขับโดยไม่พกใบอนุญาตขับขี่ ตำรวจมีอำนาจยึดบัตรประชาชน บัตรเครดิต หรือ บัตรอื่นๆ (ไม่รวมถึงใบอนุญาตขับขี่) หรือการยึดกุญแจรถคันนั้นได้หรือไม่ เมื่อสำรวจกฎหมายที่เกี่ยวข้องเช่น กฎหมายจราจรทางบก กฎหมายรถยนต์ กฎหมายบัตรประจำตัวประชาชน ไม่ปรากฎว่ามีมาตราใด ให้อำนาจตำรวจจราจรยึดบัตรประชาชน หรือ บัตรอื่นๆได้ และยิ่งเป็นการยึดกุญแจ (ตำรวจยิ่งไม่มีอำนาจกระทำได้)


ระวังอย่าให้เงินตำรวจนะครับ อาจมีความผิดฐานติด สินบนเจ้าพนักงานได้

— การยึดบัตรอื่นๆหรือกุญแจรถ โดยตำรวจอ้างว่าให้ไปชำระค่าปรับก่อนแล้วจะคืนรถให้ กรณีที่ได้รับใบสั่ง แล้วเอาใบเสร็จมาแสดง ก็จะคืนกุญแจและบัตรให้
สำหรับคนมีเงิน ก็คงจะไปรีบจ่ายแต่ถ้าไม่มีเงิน ก็คงต้องรอจนกว่าจะมี จากนั้นค่อยไปจ่ายและนำกุญแจรถ หรือ บัตรอื่นๆคืนภายหลัง (เรื่องนี้ขอย้ำเลยว่า กฎหมายจราจรทางบก และ กฎหมายรถยนต์ ไม่ได้ให้อำนาจจราจรทำเช่นนั้น)


ที่นี่มาดูเรื่องใบขับขี่กัน

ใบขับขี่เป็นทรัพย์สิน ปกติคนอื่นเอาทรัพย์สินเราไปโดยไม่มีสิทธิ ย่อมเป็นความผิดในฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๓๔ ได้ ซึ่งวางหลักว่า “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์” โดยการเอาไปในที่นี้ต้องเป็นการเอาไปโดยไม่มีสิทธิหรือไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ดังนั้น หากผู้เอาไปซึ่งทรัพย์สินมีสิทธิหรืออำนาจตามกฎหมาย ผู้เอาไปย่อมไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ เช่น ลูกหนี้ที่แพ้คดีแพ่งในศาล และไม่ยอมชำระเงินตามคำพิพากษา ต่อมาศาลออกคำสั่งยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาด แม้ลูกหนี้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีอำนาจตามกฎหมายที่จะยึดทรัพย์ได้ เป็นต้น ซึ่งกรณีนี้ก็จะไปแจ้งความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีลักทรัพย์ก็ไม่ได้

แต่น่าคิดที่ว่า ตำรวจจราจรมีอำนาจในการยึดใบขับขี่หรือไม่ ซึ่งพิจารณาเป็นลำดับได้ดังนี้

1.ในระบบกฎหมายไทย เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ย่อมเป็นผู้ที่มีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ในการจำหน่าย จ่าย โอน ทร้พย์สิน รวมถึงทำลายทรัพย์สินนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ บัญญัติไว้ว่า
“มาตรา ๑๓๓๖ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

2.อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ที่ว่านี้ หากมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น ๆ เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๓๖ นั้น ขึ้นต้นด้วยถ้อยคำว่า “ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอย จำหน่ายทรัพย์สิน ….” ซึ่งหมายความว่า หากมีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กฎหมายนั้น ๆ ย่อมริดรอนสิทธิหรืออำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้
ตัวอย่างเช่น หากเราเป็นเจ้าของที่มีกรรมสิทธิ์ในดินสอหนึ่งแท่ง วันหนึ่งเราอาจหักดินสอ เช่นนี้ เราก็สามารถทำได้ เพราะเราเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ อีกทั้งไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

3.ตำรวจจราจรจะมีอำนาจยึดใบขับขี่หรือไม่ จากที่กล่าวมาทั้ง ๒ ประการข้างต้น จะเห็นว่า ใบขับขี่เป็นกรรมสิทธิ์ของเรา คนอื่นจะมายึดมายุ่งโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมายไม่ได้


เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้

ดังนั้น หากตำรวจจะยึดใบขับขี่ในกรณีที่เราทำผิดกฎจราจรได้ ก็ต้องค้นหาว่าตำรวจอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติใดแห่งกฎหมายที่จะยึดใบขับขี่ ทั้งนี้เพราะหลักกฎหมายทั่วไปมีว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐจะใช้อำนาจกระทบสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไม่ได้ เว้นแต่จะอาศัยอำนาจที่กฎหมายบัญญัติไว้” ซึ่งหากไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ตำรวจก็จะยึดใบขับขี่ไม่ได้ หากยึดไปโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจก็อาจจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้


เมื่อค้นคว้าตัวบทกฎหมายก็พบว่า พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ บัญญัติไว้ว่า “มาตรา ๑๔๐ เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่าผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้นๆ จะว่ากล่าว ตักเตือนผู้ขับขี่ หรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบก็ได้ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ก็ให้ติดหรือผูกใบสั่งไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่เห็นได้ง่าย

สำหรับความผิดที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๕๗/๑ มาตรา ๑๕๙ มาตรา ๑๖๐ มาตรา ๑๖๐ ทวิ และมาตรา ๑๖๐ ตรี ห้ามมิให้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทำการเปรียบเทียบ

ในการออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ แต่ต้องออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ขับขี่ไว้ และเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องรีบนำใบอนุญาตขับขี่ที่เรียกเก็บไว้ไปส่งมอบพนักงานสอบสวนภายในแปดชั่วโมง นับแต่เวลาที่ออกใบสั่ง

ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ที่ออกให้ตามวรรคสามให้ใช้แทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นการชั่วคราวไม่เกินเจ็ดวัน เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานสอบสวนได้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทำการเปรียบเทียบปรับและผู้ขับขี่ได้ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้คืนใบอนุญาตขับขี่ทันที

ในกรณีเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบสั่งแต่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถเป็นผู้กระทำผิดดังกล่าว เว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้อื่นเป็นผู้ขับขี่

การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด

ใบสั่งและใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ ให้ทำตามแบบที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด”


ดังนั้น จะเห็นได้ว่า จากบทบัญญัติของมาตรา ๑๔๐ นี้ ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานซึ่งหมายถึง ตำรวจจราจรที่จะยึดใบอนุญาตขับขี่ได้เมื่อมีการฝ่าฝืนกฎจราจร จึงทำให้แม้ผู้เป็นเจ้าของใบขับขี่มีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๓๖ แต่ตำรวจจราจรก็มีอำนาจตามกฎหมายเฉพาะที่จะยึดใบขับขี่ได้ เช่นนี้แล้วเมื่อตำรวจจราจรมีอำนาจตามกฎหมายในการยึดใบขี่ การที่ตำรวจจราจรเอาใบขับขี่ของเราไป เราก็จะไปแจ้งความว่าตำรวจมีความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ได้ เพราะการเอาไปของตำรวจเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์สินโดยมีอำนาจตามกฎหมาย


หวังว่าบทความนี้อาจจะทำให้ทุกท่านเข้าใจหลักกฏหมายและวิธีการปฏิบัติของตำรวจจราจรมากขึ้นนะครับ

 

                                                    

                    


กำลังอธิบายทฤษฎีในการสอน+ความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร

โพสต์13 ต.ค. 2552 00:58โดยสิทธิพงษ์ สุขจิตต์   [ อัปเดต 7 ต.ค. 2557 21:49 ]

กดลิงก์ เรียนขับรถยนต์  เรียนขับรถยนต์ครูอ๊อด facebook   

ยินดีต้อนรับสู่การเรียนขับรถยนต์,สอนขับรถยนต์,โรงเรียนสอนขับรถยนต์,สอนขับรถ
                                 ก่อนขับรถเรียนรู้กฎให้เข้าใจ           

เพื่อความปลอดภัยต่อตัวท่านเอง

                            สอนโดยครูสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีบริหารงานโดย ครูอ๊อตและครูอ้อน(เจ้าของสอนเอง)

ความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร

ข้อความ "หยุด" บนผิวทางจราจร
เมื่อปรากฎข้อความอยู่ในช่องจราจรใด หมายความว่าให้ผุ้ขับรถในช่องจราจรนั้นปฏิบัติตามความหมายเช่นเดียวดับป้าย
 "หยุด"

รถที่ห้ามนำมาใช้ในทาง คือ
1.  รถที่มีสภาพที่ไม่มั่นคงแข็งแรง มีส่วนควบอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามที่กำหนด หรืออาจเกิดอันตราย หรือ เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้รถ คนโดยสารหรือประชาชน เช่น 
ี่มีโคมไฟหน้าหรือโคมท้ายชำรุดรถที่มีเครื่องห้ามล้อชำรุด รถที่มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล เอ รถที่มีควันดำเกินเกณฑ์ที่ทาง ราชการกำหนด รถที่ไม่มีกระจกด้านหน้า เป็นต้น
2.  รถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน (ไม่ว่าจะ 1 หรือ 2 แผ่นป้าย) ไม่ติดเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีหรื
 เครื่องหมายอื่น ๆ ที่กฎหมายที่เกี่ยวข้อกับรถกำหนด
3.  รถที่มีเสียงอื้ออึงหรือมีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ
4.  รถที่มีล้อหรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางที่ไม่ใช่ยาง ยกเว้น รถที่ใช้ในราชการสงคราหรือรถที่ใช้ใน ราชการตำรวจ
5.  รถที่มีเสียงแตรได้ยินในระยะน้อยกว่า 60 เมตร
6.  รถที่ผู้ขับขี่ยอมให้ผู้อื่นนั่งที่นั่งแถวหน้าเกินกว่า 2 คน (แถวด้านหน้าห้ามนั่งเกินกว่า 2 คน โดยรวมคน ขับด้วย)
7.  รถที่ได้เสียภาษีประจำปี
8.  รถที่ใช้แผ่นป้ายที่ทำขึ้นเอง

ในการขับรถสวนทางกัน ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติดังนี้
1.  ให้ผู้ขับขี่ขับรถชิดทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และให้ถือกึ่งกลางของทางเดินรถหรือเส้นหรือแนวที่ แบ่งทางเดินรถเป็นหลัก
2.  ทางเดินรถที่แคบ ให้ผู้ขับขี่แต่ละผ่ายลดความเร็วของรถลง เพื่อให้สวนทางกันได้โดยปลอดภัย
3.  ทางเดินรถที่แคบซึ่งไม่อาจขับรถสวนทางกันได้โดยปลอดภัย ให้ผู้ขับขี่รถคันที่ใหญ่กว่าหยุดรถชิดขอบ ทางด้านซ้าย เพื่อให้ผู้ขับรถคันที่เล็กกว่าขับผ่านไปก่อน
4.  กรณีที่มีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วหรือหยุดรถให้รถคันที่วนทางขับผ่านมาก่อน

การขับรถในกรณีที่ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง ให้ปฏิบัติดังนี้
      ขับรถหลีกสิ่งกีดขวางล้ำเข้าไปในเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถทางด้านขวาได้และต้องไม่เป็นการกีดขวางการจราจรของรถที่สวนมาหากไม่สามารถขับผ่านไปได้ต้องหยุดรอให้รถที่ขับสนทางรถ
ขับผ่านมาก่อน

 

ในดารขับรถผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้ายและต้องไม่ล่ำกึ่งกลางของทางเดินรถเว้นแต่กรณีต่อไปนี้ ที่ผู้ขับขี่สามารถขับล้ำกึ่งกลางขอทางเดินรถหรือขับเข้าไปในทางเดินรถด้านขวาได้
1.  ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง หรือถูกปิดการจราจร
2.  ทางเดินรถนั้นเจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
3.  ทางเดินรถนั้นกว้างไม่ถึง 6 เมตร

 

กรณีที่มีช่องทางเดินรถตั้งแต่ 2 ช่องทางขึ้นไป ผู้ขับขี่ที่ต้องขับรถชิดทางด้านซ้ายสุดคือ
1.  ผู้ขับขี่รถที่มีความเร็วช้า หรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่ารถคันอื่น ที่ขับรถในทิศทางเดียวกัน
2.  ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ ยกเว้น กรณีที่มีช่องทางเดินรถประจำทางให้ขับรถในช่องทางเดินรถด้าน ซ้ายสุดที่ติดกับช่องทางเดินรถประจำทาง

เมื่อผู้ขับขี่รถลงจากทางลาดชันหรือภูเขาจะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  ห้ามใช้เกียร์ว่าง
2.  ห้ามเหยียบคลัทซ์
3.  ห้าใช้เบรคตลอดเวลา
4.  ห้ามดับเครื่องยนต์
5.  ใช้เกียร์ต่ำ
6.  ขับรถชิดขอบทางด้านซ้าย
7.  ให้เสียงสัญญาณเตือนรถที่อาจสวนทางมา 

ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันหน้าเป็นระยะทางเท่าใด
ห่างพอสมควรในระยะที่สามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัย

การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกที่เป็นทางเอกตัดกันและไม่ปรากฎสัญญา หรือเครื่องหมายจราจรผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  ถ้ามีรถอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นขับผ่านไปก่อน
2.  ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกัน และไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของคนขับผ่านไป ก่อน

ขอกำหนดความเร็วของรถในกรณีปกติ มีการกำหนดอย่างไร
1.  ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
2.  นอกเขตตามข้อ 1 ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ในขณะขับรถผู้ขับขี่ต้องมีเอกสารชนิดใด
1.  ใบอนุญาตขับรถ
2.  สำเนาภาพถ่ายคู่มือจดทะเบียนรถ

การใช้ไฟสัญญาณและสัญญาณมือของผู้ขับขี่ กรณีที่ต้องการจะเลี้ยวรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  สัญญาณไฟให้สัญญาณไฟเลี้ยวทั้งด้านหน้าและหลังในทิศทางที่จะเลี้ยว
2.  สัญญาณมือ  
     - เลี้ยวขวาให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปเสมอไหล่
     - เลี้ยวซ้ายให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอไหล่และงอมือชูขึ้นโบกไปทางซ้าย หลายครั้ง 
3.  การให้สัญญาณตามข้อ 1 และ 2 ต้องให้สัญญาณก่อนที่จะเลี้ยวเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร และให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถคันอื่น  เห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร

เมื่อผู้ขับขี่พบเครื่องหมาย "เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด" ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติอย่างไร
      ให้ผู้ขับขี่หยุดให้ทางแก่รถที่กำลังผ่านทางร่วมทางแยกจากทางด้านขวาและให้ทางแก่รถที่เลี้ยวขวาก่อนจึงจะเลียวซ้ายผ่านไปได้

ในการเลี้ยวรถผู้ขับขี่จะต้องขับรถในช่องทางเดินรถที่ต้องการจะเลี้ยวก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่ากี่เมตร
     
 30  เมตร

บริเวณใดห้ามกลับรถ
1.  ในทางเดินรถที่สวนทางกันได้ห้ามกลับรถในขณะที่มีรถอื่นสวนทางมาหรือตามมาในระยะน้อยกว่า 100 เมตร
2.  ในเขตปลอดภัยหรือคับขัน
3.  บนสะพานหรือในระยะ 100 เมตร จากทางราบของเชิงสะพาน
4.  บริเวณทางร่วมทางแยก เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรอนุญาตให้กลับรถได้
5.  บริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามกลับรถ

บริเวณใดห้ามแซง
1.  ห้ามแซงด้านซ้าย เว้นแต่
     - รถที่ถูกแซมกำลังเลี้ยวขวาหรือให้สัญญาณจะเลี้ยวขวา
     -  ทางเดินรถนั้นได้จัดแบ่งเป็นช่อทางเดินรถในทิศทางเดี่ยวกันตั้งแต่ 2 ช่อทางขึ้นไป
2.  ห้ามแซงเมื่อรถกำลังขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ใกล้ทางโค้งเว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้
3.  ห้ามแซมภายในระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางข้าม ทางร่วม ทางแยก วงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้หรือทางเดินรถที่ตัดข้าทางรถไฟ
4.  ห้ามแซมเมื่อมีหมอก ฝน ฝุ่น หรือควัน จะทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างได้ในระยะ 60 เมตร
5.  ห้ามแซงเมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย
6.  ห้ามแซมล้ำเข้าไปในช่องเดินรถประจำทาง
7.  ห้ามแซมในบริเวณที่มีเส้นแบ่งช่องการเดินรถเป็นเส้นทึบ

ห้ามผู้ขับขี่รถในกรณีใด
1.  ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ เช่น ภายหลังจากรับประทานยาแก้ไข้หวัดในขณะง่วงนอน
2.  ในขณะเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น 
3.  ในลักษณะกีดขวางการจราจร
4.  โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
5.  ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธีรรมดาหรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสอง ด้านได้พอแก่ความปลอดภัย
6.  คล่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องรถ เว้นแต่เมื่อต้องการเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ
7.  บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารกคนป่วย หรือคนพิการ
8.  โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น
9.  ในขณะที่เสพ หรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน หรือวัตถุที่ออก ฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่น (ยาบ้า)
10.ขับรถโดยที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถ
11.ขับรถบนไหล่ทาง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร
12.ใช้ไฟฉุกเฉินขณะขับรถตรงไปเพื่อผ่านทางร่วมทางแยก
13.ขับรถแข่ง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร 

ในขณะที่ขับรถ ถ้าท่านเกิดอาการง่วงนอนควรปฏิบัติอย่างไร
จอดรถและพักผ่อนก่อนออกเดินทางต่อไป

ข้อห้ามของผู้ขับรถ
1.  ห้ามอนุญาตให้ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถขับรถของตน
2.  ห้ามใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถที่จัดทำขึ้นเอง
3.  ห้าให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาตขับรถของตน
4.  ห้ามใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน

เมื่อผู้ขับขี่ต้องการจะจอดรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  ให้สัญญาณด้วยมือและแขนหรือสัญญาณไฟ (สัญญาณชะลอรถและยกเลี้ยว) ก่อนที่จะหยุดหรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร
2.  หยุดหรือจอดรถได้เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่กีดขวางการจราจร
3.  จอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และขนานกับขอบทางหรือไหล่ทางไม่เกิน 25 เซนติเมตร (เว้นแต่เป็นทางเดินรถทางเดียวและ เจ้าพนักงานจราจรอนุญาตให้จอดรถในทางเดินรถด้านขวาได้)
4.  ห้ามจอดในช่องทางเดินรถประจำทางในเวลาที่กำหนดให้เป็นช่องทางเดินรถประจำทาง

บริเวณใดห้ามจอดรถ
1.  บนทางเท้า
2.  บนสะดานหรือในอุโมงค์
3.  ในทางร่วมทางแยกหรือในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก
4.  ในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
5.  บริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามจอดรถ
6.  ในระยะ 3 เมตรจากท่อน้ำดับเพลิง
7.  ในระยะ 10 เมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
8.  ในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน
9.  จอดรถซ้อนกับรถคันอื่นที่จอดอยู่ก่อน (จอดรถซ้อนคัน)
10.บริเวณปากทางเข้าออกอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะ 5 เมตรจากปากทางเดินรถ
11.ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทางหรือในระยะ 10 เมตร นับจาปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้ง 2 ข้าง
12.ในที่คับขัน
13.ในระยะ 15 เมตรก่อนถึงบริเวณที่ติดตั้งป้ายหยุดรถประจำทาง และเลยไปอีก 3 เมตร
14.ในระยะ 3 เมตรจากตู้ไปรษณีย์
15.ในลักษณะกีดขวางการจราจร
16.จอดรถทางด้านขวาในกรณีที่เป็นทางเดินรถุสวนทางกัน

การจอดรถในทางเดินรถที่เป็นทางลาด หรือชัน ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
จอดรถโดยหันล้อหน้าของรถเข้าขอบทาง

ผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถในทางเดินรถ หรือไหล่ทางในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่อื่นสามารถเห็นรถที่จอดได้ชัดเจนไม่น้อยกว่าระยะ 150 เมตร ผู้ขับขี่ที่จอดรถจะต้องปฎิบัติอย่างไร
ผู้ขับขี่ที่จอดรถต้องเปิดไฟส่องสว่างโดยใช้โคมไปเล็ก โคมไฟท้าย และโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถ

บริเวณใดห้ามผู้ขับขี่หยุดรถ
1.  ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
2.  บนทางเท้า
3.  บนสะพานหรือในอุโมงค์
4.  ในทางร่วมทางแยก
5.  ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
6.  ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
7.  ในเขตปลอดภัย
8.  ในลักษณะกีดขงวางการจราจร

การให้สัญญาณด้วยมือและแขนของผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  
มื่อจะลดความเร็วของรถให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง
2. 
 เมื่อหยุดรถ ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบน และตั้งฝ่ามือขึ้น
3. 
 เมื่อจะให้รถคันอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้า ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือไปทางข้างหน้าหลาย ครั้ง
4. 
 เมื่อจะเลี้ยวขวา หรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่
5. 
 เมื่อจะเลี้ยวซ้าย หรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และงอข้อมือชูขึ้นโบก 
     ไปทางซ้ายหลายครั้ง

ผู้ขับขี่จะต้องใช้ไฟแสงสว่าง (ไฟหน้าและไฟท้าย)
ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็น รถ หรือสิ่งกีดขวางในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร

การใช้เสียงสัญญาณของผู้ขับขี่ต้องใช้เสียงสัญญาณอย่างไร
ใช้เสียงแตรที่ได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร ห้าใช้เสียงสัญญาณไซเรน เสียงสัญญาณที่เป็นเสียงนกหวีด เสียงที่แตกพร่า เสียงหลายเสียง หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น ตามที่อธิบดีกำหนด และให้ผู้ขับขี่ใช้เสียงสัญญาณได้เฉพาะเมื่อจำเป็น หรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น และห้าใช้เสียงยาว หรือช้ำเกินควรแก่ความจำเป็น

การบรรทุกของผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  ความกว้าง ได้ไม่เกินส่วนกว้างของรถ
2.  ความยาว 
     -  ด้านหน้ายื่นไม่เกินหน้าหม้อรถ
     - ด้านหลังยื่นพ้นตัวรถไม่เกิน 2.50 เมตร
3.  ความสูง  กรณีรถบรรทุกให้บรรทุกสูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.00 เมตร แต่ถ้ารถมีความกว้างของรถเกินกว่า 2.30 เมตร ให้ บรรทุกสูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.80 เมตร
4.  ต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันคน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุกตกหล่อน รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อให้ เกิดเหตุเดือนร้อน รำคาญทำให้สกปรกเสื่อมเสียสุขภาพอนามัย
หรือ 
ก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนหรือทรัพย์สิน

กรณีที่บรรทุกของยื่นเกินกว่าความยาวของตัวรถผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  ในเวลากลางวันติดธงสีแดงเรืองแสงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาง 45 เซนติเมตร
2.  ในเวลากลางคืน หรือในเวลาที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะ 150 เมตร ต้องติดไฟสัญญาณสีแดงที่มองเห็นชัดเจนสนระยะ     150  เมตร

เมื่อผู้ขับขี่พบรถฉุกเฉินจะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  หยุดรถ หรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้าย แต่ถ้ามีช่องทางเดินรถประจำทางให้หยุดชิดกับช่องทางเดินรถประจำทาง แต่ห้าม หยุดหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก
2.  ขับรถตามหลังรถฉุกเฉินได้ในระยะไม่ต่ำกว่า 50 เมตร

ในกรณีที่เครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้อง (รถเสีย) ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  นำรถให้พ้นจากทางเดินรถโดยเร็วที่สุด
2.  ถ้าจำเป็นต้องจอดในทางเดินรถจะต้องจอดรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจรและแสดงเครื่องหมายดังนี้
     2.1  ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาลให้ใช้สัญญาณไฟกะพริบสีเหลืองอัน สีแดง หรือสีขาวที่ติดอ
ยู่
ด้านหน้าและท้ายรถทั้งด้านซ้ายและด้านขวา (ไฟฉุกเฉิน)
 
        
หรือติดตั้งป้ายฉุกเฉินซึ่งมีลักษณะ เป็นรูปสามเหลี่ยมพื้นขาวขอบ แดง มีสัญลักษณ์ สีดำตรงกลาง ทั้งด้านหน้าและท้ายรถ      
     
2.2  นอกเขต 2.1 ให้แสดงเครื่องหมายป้ายฉุกเฉินซึ่งมีลักษณะ เป็นรูปสามเหลี่ยมพื้นขาวขอบ แดง มีสัญลักษณ์ สีดำตรงกลาง ทั้งด้านหน้าและท้ายรถ โดยห่างจากรถไม่ต่ำกว่า 50 เมตร  
         
 และให้สัญญาณไฟกระพริบ 
(ไฟฉุกเฉิน) ในเวลาที่มองเห็นไม่ชัดเจรน แสงสว่างไม่เพียงพอและจอดได้ไม่เกิน 24 ชั่วโม ง 
         

การลากจูงรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร
1.  การลากจูงรถที่ไม่สามารถใช้พวงมาลัยหรือห้ามล้อได้ ให้ใช้วียกหน้าหรือท้ายรถที่ถูกลากจูง
2.  การลากจูงรถที่สามารถใช้พวงมาลัยหรือห้ามล้อได้ ให้ใช้วิธีตามข้อ 1 หรือใช้สายพ่วงที่มีความยาวจากส่วนหน้าสุดของรถที่ 
ถูกลากหรือจูงไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่ไม่เกิน 5 เมตร 
3.  ห้ามลากหรือจูงรถเกินกว่า 1 คัน

                    

view