ความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร
|
ข้อความ "หยุด" บนผิวทางจราจร เมื่อปรากฎข้อความอยู่ในช่องจราจรใด หมายความว่าให้ผุ้ขับรถในช่องจราจรนั้นปฏิบัติตามความหมายเช่นเดียวดับป้าย "หยุด"
|
รถที่ห้ามนำมาใช้ในทาง คือ 1. รถที่มีสภาพที่ไม่มั่นคงแข็งแรง มีส่วนควบอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามที่กำหนด หรืออาจเกิดอันตราย หรือ เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้รถ คนโดยสารหรือประชาชน เช่น ี่มีโคมไฟหน้าหรือโคมท้ายชำรุดรถที่มีเครื่องห้ามล้อชำรุด รถที่มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล เอ รถที่มีควันดำเกินเกณฑ์ที่ทาง ราชการกำหนด รถที่ไม่มีกระจกด้านหน้า เป็นต้น 2. รถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน (ไม่ว่าจะ 1 หรือ 2 แผ่นป้าย) ไม่ติดเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีหรื เครื่องหมายอื่น ๆ ที่กฎหมายที่เกี่ยวข้อกับรถกำหนดอ 3. รถที่มีเสียงอื้ออึงหรือมีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ 4. รถที่มีล้อหรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางที่ไม่ใช่ยาง ยกเว้น รถที่ใช้ในราชการสงคราหรือรถที่ใช้ใน ราชการตำรวจ 5. รถที่มีเสียงแตรได้ยินในระยะน้อยกว่า 60 เมตร 6. รถที่ผู้ขับขี่ยอมให้ผู้อื่นนั่งที่นั่งแถวหน้าเกินกว่า 2 คน (แถวด้านหน้าห้ามนั่งเกินกว่า 2 คน โดยรวมคน ขับด้วย) 7. รถที่ได้เสียภาษีประจำปี 8. รถที่ใช้แผ่นป้ายที่ทำขึ้นเอง
|
ในการขับรถสวนทางกัน ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติดังนี้ 1. ให้ผู้ขับขี่ขับรถชิดทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และให้ถือกึ่งกลางของทางเดินรถหรือเส้นหรือแนวที่ แบ่งทางเดินรถเป็นหลัก 2. ทางเดินรถที่แคบ ให้ผู้ขับขี่แต่ละผ่ายลดความเร็วของรถลง เพื่อให้สวนทางกันได้โดยปลอดภัย 3. ทางเดินรถที่แคบซึ่งไม่อาจขับรถสวนทางกันได้โดยปลอดภัย ให้ผู้ขับขี่รถคันที่ใหญ่กว่าหยุดรถชิดขอบ ทางด้านซ้าย เพื่อให้ผู้ขับรถคันที่เล็กกว่าขับผ่านไปก่อน 4. กรณีที่มีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วหรือหยุดรถให้รถคันที่วนทางขับผ่านมาก่อน
|
การขับรถในกรณีที่ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง ให้ปฏิบัติดังนี้ ขับรถหลีกสิ่งกีดขวางล้ำเข้าไปในเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถทางด้านขวาได้และต้องไม่เป็นการกีดขวางการจราจรของรถที่สวนมาหากไม่สามารถขับผ่านไปได้ต้องหยุดรอให้รถที่ขับสนทางรถ ขับผ่านมาก่อน
|
ในดารขับรถผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้ายและต้องไม่ล่ำกึ่งกลางของทางเดินรถเว้นแต่กรณีต่อไปนี้ ที่ผู้ขับขี่สามารถขับล้ำกึ่งกลางขอทางเดินรถหรือขับเข้าไปในทางเดินรถด้านขวาได้ 1. ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง หรือถูกปิดการจราจร 2. ทางเดินรถนั้นเจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว 3. ทางเดินรถนั้นกว้างไม่ถึง 6 เมตร
|
กรณีที่มีช่องทางเดินรถตั้งแต่ 2 ช่องทางขึ้นไป ผู้ขับขี่ที่ต้องขับรถชิดทางด้านซ้ายสุดคือ 1. ผู้ขับขี่รถที่มีความเร็วช้า หรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่ารถคันอื่น ที่ขับรถในทิศทางเดียวกัน 2. ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ ยกเว้น กรณีที่มีช่องทางเดินรถประจำทางให้ขับรถในช่องทางเดินรถด้าน ซ้ายสุดที่ติดกับช่องทางเดินรถประจำทาง
|
เมื่อผู้ขับขี่รถลงจากทางลาดชันหรือภูเขาจะต้องปฏิบัติอย่างไร 1. ห้ามใช้เกียร์ว่าง 2. ห้ามเหยียบคลัทซ์ 3. ห้าใช้เบรคตลอดเวลา 4. ห้ามดับเครื่องยนต์ 5. ใช้เกียร์ต่ำ 6. ขับรถชิดขอบทางด้านซ้าย 7. ให้เสียงสัญญาณเตือนรถที่อาจสวนทางมา
|
ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันหน้าเป็นระยะทางเท่าใด ห่างพอสมควรในระยะที่สามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัย
|
การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกที่เป็นทางเอกตัดกันและไม่ปรากฎสัญญา หรือเครื่องหมายจราจรผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร 1. ถ้ามีรถอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นขับผ่านไปก่อน 2. ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกัน และไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของคนขับผ่านไป ก่อน
|
ขอกำหนดความเร็วของรถในกรณีปกติ มีการกำหนดอย่างไร 1. ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 2. นอกเขตตามข้อ 1 ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
|
ในขณะขับรถผู้ขับขี่ต้องมีเอกสารชนิดใด 1. ใบอนุญาตขับรถ 2. สำเนาภาพถ่ายคู่มือจดทะเบียนรถ
|
การใช้ไฟสัญญาณและสัญญาณมือของผู้ขับขี่ กรณีที่ต้องการจะเลี้ยวรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร 1. สัญญาณไฟให้สัญญาณไฟเลี้ยวทั้งด้านหน้าและหลังในทิศทางที่จะเลี้ยว 2. สัญญาณมือ - เลี้ยวขวาให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปเสมอไหล่ - เลี้ยวซ้ายให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอไหล่และงอมือชูขึ้นโบกไปทางซ้าย หลายครั้ง 3. การให้สัญญาณตามข้อ 1 และ 2 ต้องให้สัญญาณก่อนที่จะเลี้ยวเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร และให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถคันอื่น เห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร
|
เมื่อผู้ขับขี่พบเครื่องหมาย "เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด" ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติอย่างไร ให้ผู้ขับขี่หยุดให้ทางแก่รถที่กำลังผ่านทางร่วมทางแยกจากทางด้านขวาและให้ทางแก่รถที่เลี้ยวขวาก่อนจึงจะเลียวซ้ายผ่านไปได้
|
ในการเลี้ยวรถผู้ขับขี่จะต้องขับรถในช่องทางเดินรถที่ต้องการจะเลี้ยวก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่ากี่เมตร 30 เมตร
|
บริเวณใดห้ามกลับรถ 1. ในทางเดินรถที่สวนทางกันได้ห้ามกลับรถในขณะที่มีรถอื่นสวนทางมาหรือตามมาในระยะน้อยกว่า 100 เมตร 2. ในเขตปลอดภัยหรือคับขัน 3. บนสะพานหรือในระยะ 100 เมตร จากทางราบของเชิงสะพาน 4. บริเวณทางร่วมทางแยก เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรอนุญาตให้กลับรถได้ 5. บริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามกลับรถ
|
บริเวณใดห้ามแซง 1. ห้ามแซงด้านซ้าย เว้นแต่ - รถที่ถูกแซมกำลังเลี้ยวขวาหรือให้สัญญาณจะเลี้ยวขวา - ทางเดินรถนั้นได้จัดแบ่งเป็นช่อทางเดินรถในทิศทางเดี่ยวกันตั้งแต่ 2 ช่อทางขึ้นไป 2. ห้ามแซงเมื่อรถกำลังขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ใกล้ทางโค้งเว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้ 3. ห้ามแซมภายในระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางข้าม ทางร่วม ทางแยก วงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้หรือทางเดินรถที่ตัดข้าทางรถไฟ 4. ห้ามแซมเมื่อมีหมอก ฝน ฝุ่น หรือควัน จะทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างได้ในระยะ 60 เมตร 5. ห้ามแซงเมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย 6. ห้ามแซมล้ำเข้าไปในช่องเดินรถประจำทาง 7. ห้ามแซมในบริเวณที่มีเส้นแบ่งช่องการเดินรถเป็นเส้นทึบ
|
ห้ามผู้ขับขี่รถในกรณีใด 1. ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ เช่น ภายหลังจากรับประทานยาแก้ไข้หวัดในขณะง่วงนอน 2. ในขณะเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น 3. ในลักษณะกีดขวางการจราจร 4. โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน 5. ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธีรรมดาหรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสอง ด้านได้พอแก่ความปลอดภัย 6. คล่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องรถ เว้นแต่เมื่อต้องการเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ 7. บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารกคนป่วย หรือคนพิการ 8. โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น 9. ในขณะที่เสพ หรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน หรือวัตถุที่ออก ฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่น (ยาบ้า) 10.ขับรถโดยที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถ 11.ขับรถบนไหล่ทาง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร 12.ใช้ไฟฉุกเฉินขณะขับรถตรงไปเพื่อผ่านทางร่วมทางแยก 13.ขับรถแข่ง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร
|
ในขณะที่ขับรถ ถ้าท่านเกิดอาการง่วงนอนควรปฏิบัติอย่างไร จอดรถและพักผ่อนก่อนออกเดินทางต่อไป
|
ข้อห้ามของผู้ขับรถ 1. ห้ามอนุญาตให้ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถขับรถของตน 2. ห้ามใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถที่จัดทำขึ้นเอง 3. ห้าให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาตขับรถของตน 4. ห้ามใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน
|
เมื่อผู้ขับขี่ต้องการจะจอดรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร 1. ให้สัญญาณด้วยมือและแขนหรือสัญญาณไฟ (สัญญาณชะลอรถและยกเลี้ยว) ก่อนที่จะหยุดหรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร 2. หยุดหรือจอดรถได้เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่กีดขวางการจราจร 3. จอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และขนานกับขอบทางหรือไหล่ทางไม่เกิน 25 เซนติเมตร (เว้นแต่เป็นทางเดินรถทางเดียวและ เจ้าพนักงานจราจรอนุญาตให้จอดรถในทางเดินรถด้านขวาได้) 4. ห้ามจอดในช่องทางเดินรถประจำทางในเวลาที่กำหนดให้เป็นช่องทางเดินรถประจำทาง
|
บริเวณใดห้ามจอดรถ 1. บนทางเท้า 2. บนสะดานหรือในอุโมงค์ 3. ในทางร่วมทางแยกหรือในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก 4. ในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม 5. บริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามจอดรถ 6. ในระยะ 3 เมตรจากท่อน้ำดับเพลิง 7. ในระยะ 10 เมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร 8. ในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน 9. จอดรถซ้อนกับรถคันอื่นที่จอดอยู่ก่อน (จอดรถซ้อนคัน) 10.บริเวณปากทางเข้าออกอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะ 5 เมตรจากปากทางเดินรถ 11.ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทางหรือในระยะ 10 เมตร นับจาปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้ง 2 ข้าง 12.ในที่คับขัน 13.ในระยะ 15 เมตรก่อนถึงบริเวณที่ติดตั้งป้ายหยุดรถประจำทาง และเลยไปอีก 3 เมตร 14.ในระยะ 3 เมตรจากตู้ไปรษณีย์ 15.ในลักษณะกีดขวางการจราจร 16.จอดรถทางด้านขวาในกรณีที่เป็นทางเดินรถุสวนทางกัน
|
การจอดรถในทางเดินรถที่เป็นทางลาด หรือชัน ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร จอดรถโดยหันล้อหน้าของรถเข้าขอบทาง
|
ผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถในทางเดินรถ หรือไหล่ทางในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่อื่นสามารถเห็นรถที่จอดได้ชัดเจนไม่น้อยกว่าระยะ 150 เมตร ผู้ขับขี่ที่จอดรถจะต้องปฎิบัติอย่างไร ผู้ขับขี่ที่จอดรถต้องเปิดไฟส่องสว่างโดยใช้โคมไปเล็ก โคมไฟท้าย และโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถ
|
บริเวณใดห้ามผู้ขับขี่หยุดรถ 1. ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง 2. บนทางเท้า 3. บนสะพานหรือในอุโมงค์ 4. ในทางร่วมทางแยก 5. ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ 6. ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ 7. ในเขตปลอดภัย 8. ในลักษณะกีดขงวางการจราจร
|
การให้สัญญาณด้วยมือและแขนของผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร 1. เมื่อจะลดความเร็วของรถให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง 2. เมื่อหยุดรถ ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบน และตั้งฝ่ามือขึ้น 3. เมื่อจะให้รถคันอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้า ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือไปทางข้างหน้าหลาย ครั้ง 4. เมื่อจะเลี้ยวขวา หรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ 5. เมื่อจะเลี้ยวซ้าย หรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และงอข้อมือชูขึ้นโบก ไปทางซ้ายหลายครั้ง
|
ผู้ขับขี่จะต้องใช้ไฟแสงสว่าง (ไฟหน้าและไฟท้าย) ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็น รถ หรือสิ่งกีดขวางในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร
|
การใช้เสียงสัญญาณของผู้ขับขี่ต้องใช้เสียงสัญญาณอย่างไร ใช้เสียงแตรที่ได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร ห้าใช้เสียงสัญญาณไซเรน เสียงสัญญาณที่เป็นเสียงนกหวีด เสียงที่แตกพร่า เสียงหลายเสียง หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น ตามที่อธิบดีกำหนด และให้ผู้ขับขี่ใช้เสียงสัญญาณได้เฉพาะเมื่อจำเป็น หรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น และห้าใช้เสียงยาว หรือช้ำเกินควรแก่ความจำเป็น
|
การบรรทุกของผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร 1. ความกว้าง ได้ไม่เกินส่วนกว้างของรถ 2. ความยาว - ด้านหน้ายื่นไม่เกินหน้าหม้อรถ - ด้านหลังยื่นพ้นตัวรถไม่เกิน 2.50 เมตร 3. ความสูง กรณีรถบรรทุกให้บรรทุกสูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.00 เมตร แต่ถ้ารถมีความกว้างของรถเกินกว่า 2.30 เมตร ให้ บรรทุกสูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.80 เมตร 4. ต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันคน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุกตกหล่อน รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อให้ เกิดเหตุเดือนร้อน รำคาญทำให้สกปรกเสื่อมเสียสุขภาพอนามัยหรือ ก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนหรือทรัพย์สิน
|
กรณีที่บรรทุกของยื่นเกินกว่าความยาวของตัวรถผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร 1. ในเวลากลางวันติดธงสีแดงเรืองแสงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาง 45 เซนติเมตร 2. ในเวลากลางคืน หรือในเวลาที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะ 150 เมตร ต้องติดไฟสัญญาณสีแดงที่มองเห็นชัดเจนสนระยะ 150 เมตร
|
เมื่อผู้ขับขี่พบรถฉุกเฉินจะต้องปฏิบัติอย่างไร 1. หยุดรถ หรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้าย แต่ถ้ามีช่องทางเดินรถประจำทางให้หยุดชิดกับช่องทางเดินรถประจำทาง แต่ห้าม หยุดหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก 2. ขับรถตามหลังรถฉุกเฉินได้ในระยะไม่ต่ำกว่า 50 เมตร
|
ในกรณีที่เครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้อง (รถเสีย) ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร 1. นำรถให้พ้นจากทางเดินรถโดยเร็วที่สุด 2. ถ้าจำเป็นต้องจอดในทางเดินรถจะต้องจอดรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจรและแสดงเครื่องหมายดังนี้ 2.1 ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาลให้ใช้สัญญาณไฟกะพริบสีเหลืองอัน สีแดง หรือสีขาวที่ติดอยู่ด้านหน้าและท้ายรถทั้งด้านซ้ายและด้านขวา (ไฟฉุกเฉิน) หรือติดตั้งป้ายฉุกเฉินซึ่งมีลักษณะ เป็นรูปสามเหลี่ยมพื้นขาวขอบ แดง มีสัญลักษณ์ I สีดำตรงกลาง ทั้งด้านหน้าและท้ายรถ 2.2 นอกเขต 2.1 ให้แสดงเครื่องหมายป้ายฉุกเฉินซึ่งมีลักษณะ เป็นรูปสามเหลี่ยมพื้นขาวขอบ แดง มีสัญลักษณ์ I สีดำตรงกลาง ทั้งด้านหน้าและท้ายรถ โดยห่างจากรถไม่ต่ำกว่า 50 เมตร และให้สัญญาณไฟกระพริบ (ไฟฉุกเฉิน) ในเวลาที่มองเห็นไม่ชัดเจรน แสงสว่างไม่เพียงพอและจอดได้ไม่เกิน 24 ชั่วโม ง
|
การลากจูงรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร 1. การลากจูงรถที่ไม่สามารถใช้พวงมาลัยหรือห้ามล้อได้ ให้ใช้วียกหน้าหรือท้ายรถที่ถูกลากจูง 2. การลากจูงรถที่สามารถใช้พวงมาลัยหรือห้ามล้อได้ ให้ใช้วิธีตามข้อ 1 หรือใช้สายพ่วงที่มีความยาวจากส่วนหน้าสุดของรถที่ ถูกลากหรือจูงไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่ไม่เกิน 5 เมตร 3. ห้ามลากหรือจูงรถเกินกว่า 1 คัน
|